ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่

ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่

ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่

visibility 418

 

 

บทคัดย่อ

            จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 พบว่าปัญหาการว่างงานมากขึ้นในเจเนอเรชันแซดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการว่างงานมากที่สุด นำไปสู่การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

            ผลวิจัยพบว่า เพศ สถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษารวมไปถึงสถานภาพการทำงานมีความคิดเห็นต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ในช่วงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 24 ปีและระดับผลการเรียนเฉลี่ยมากกว่า 3.50 สูงที่สุดและส่งผลต่อผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกมากที่สุด โดยส่วยใหญ่มีรายได้ต่อเดือนของครอบครัวมากกว่า 60,000 บาทขึ้นไป และมีทักษะทางด้านของ Hard skills สูงกว่า Soft skills จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติค่านิยมต่อการทำงานในองค์กรมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่สูงที่สุด

 

 

ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่
arrow_circle_down ดาวน์โหลด (338)

ออนไลน์สู่ออนไซต์ : การแสดงออกและปฏิบัติการของแอคเคาท์ทวิตเตอร์แฟนคลับวง NCT กับประเด็นทางสังคม

พลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562: มุมมองคนรุ่นใหม่กับการลดความขัดแย้งทางการเมือง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าไหมแพรวา ตำบลโพน อำเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์