พลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562: มุมมองคนรุ่นใหม่กับการลดความขัดแย้งทางการเมือง

พลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562: มุมมองคนรุ่นใหม่กับการลดความขัดแย้งทางการเมือง

พลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562: มุมมองคนรุ่นใหม่กับการลดความขัดแย้งทางการเมือง

visibility 592

 

บทคัดย่อ
               

               การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และเพื่อศึกษามุมมองคนรุ่นใหม่ในการลดความขัดแย้งทางการเมือง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง นักวิชาการ ตลอดจนแกนนำขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประเทศไทย และกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวม 35 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความเป็นพลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 มาจากมรดกของการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ตลอดระยะเวลา 5 ปีของการควบคุมอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประชาชนไม่มีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกและการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยอุดมการณ์ทางการเมืองไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้ว ในช่วงปี 2562 - 2565 ได้แก่ ขั้วอุดมการณ์แบบอำนาจนิยม และขั้วอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อความขัดแย้งทางการเมืองจะเห็นได้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองมีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง 2548 จนเกิดรัฐประหาร 2 ครั้ง ในปี 2549 และ 2557 แต่ไม่ใช่ทางออกของการเมืองไทย โดยในการลดความขัดแย้งทางการเมืองมีข้อเสนอ ดังนี้ (1) เครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทยในอดีต ทั้งการนิรโทษกรรม และการล้างมลทิน และ (2) การสร้างองค์กรเพื่อระงับความขัดแย้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการระงับความขัดแย้งคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต    

พลวัตทางความคิดเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562: มุมมองคนรุ่นใหม่กับการลดความขัดแย้งทางการเมือง
arrow_circle_down ดาวน์โหลด (336)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าไหมแพรวา ตำบลโพน อำเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อสภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่

ออนไลน์สู่ออนไซต์ : การแสดงออกและปฏิบัติการของแอคเคาท์ทวิตเตอร์แฟนคลับวง NCT กับประเด็นทางสังคม