Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

visibility 99,157

 

การพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก เมื่อปี 2543 ประเทศไทยและประเทศต่างๆทั่วโลกรวม 189 ประเทศจึงรวมตัวกันในการประชุมองค์การสหประชาชาติที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเห็นพ้องต้องกันในการตั้งเป้าหมายการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับสากลที่ทุกประเทศจะดำเนินการร่วมกันให้ได้ภายในปี 2558 โดยเป้าหมายดังกล่าวเรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goals (MDGs) อันประกอบด้วย 8 เป้าหมายหลัก คือ 1. ขจัดความยากจนและความหิวโหย 2. ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3. ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี 4. ลดอัตราการตายของเด็ก 5. พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ 6. ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7. รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 8. ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

ระยะเวลา 15 ปีผ่านมา เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษทั้ง 8 ข้อ กำลังจะสิ้นสุดลง โดยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายประเทศ ซึ่งเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนา องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน เรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายคือ

 

1 ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ 2 ขจัดความหิวโหย
3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4 การศึกษาที่เท่าเทียม
5 ความเท่าเทียมทางเพศ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 10 ลดความเหลื่อมล้ำ
11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  
 
 
สำหรับประเทศไทยเองนั้น นอกจากการพัฒนาใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง
ของ SDGs แล้ว ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับมิติทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย และการจะบรรลุความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่ทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและระดับนานาชาติได้พระราชทานเข็มทิศการพัฒนาไว้ให้ทุกภาคส่วนน้อมนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม นั่นคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในการดำเนินชีวิตและสร้างสัมฤทธิผลแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
โครงการชำระประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โครงการชำระประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ร่วมย้อนวันวานประกวดภาพเก่าเล่าเรื่อง ภาพเหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมวันสำคัญหรืออาคารสถานที่ในอดีต ของวิทยาลัยวิชาการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ขอเชิญ เข้าร่วมโครงการอบรมการเขียนใบสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอเชิญ เข้าร่วมโครงการอบรมการเขียนใบสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการ SOC SWU PERFORMANCE REVIEW

โครงการ SOC SWU PERFORMANCE REVIEW