Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

visibility 112,695

 

การพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก เมื่อปี 2543 ประเทศไทยและประเทศต่างๆทั่วโลกรวม 189 ประเทศจึงรวมตัวกันในการประชุมองค์การสหประชาชาติที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเห็นพ้องต้องกันในการตั้งเป้าหมายการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับสากลที่ทุกประเทศจะดำเนินการร่วมกันให้ได้ภายในปี 2558 โดยเป้าหมายดังกล่าวเรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goals (MDGs) อันประกอบด้วย 8 เป้าหมายหลัก คือ 1. ขจัดความยากจนและความหิวโหย 2. ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา 3. ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี 4. ลดอัตราการตายของเด็ก 5. พัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ 6. ต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ 7. รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 8. ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

ระยะเวลา 15 ปีผ่านมา เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษทั้ง 8 ข้อ กำลังจะสิ้นสุดลง โดยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายประเทศ ซึ่งเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนา องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน เรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายคือ

 

1 ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ 2 ขจัดความหิวโหย
3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4 การศึกษาที่เท่าเทียม
5 ความเท่าเทียมทางเพศ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 10 ลดความเหลื่อมล้ำ
11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  
 
 
สำหรับประเทศไทยเองนั้น นอกจากการพัฒนาใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง
ของ SDGs แล้ว ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับมิติทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย และการจะบรรลุความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่ทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและระดับนานาชาติได้พระราชทานเข็มทิศการพัฒนาไว้ให้ทุกภาคส่วนน้อมนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม นั่นคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในการดำเนินชีวิตและสร้างสัมฤทธิผลแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ขอเชิญ คณาจารย์ บุคลากร เข้าร่วมวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ ครบรอบ 48 ปี

ขอเชิญ คณาจารย์ บุคลากร เข้าร่วมวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ ครบรอบ 48 ปี

ขอเชิญ คณาจารย์ บุคลากร เข้าร่วม "โครงการวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ ครบรอบ 48 ปี" ในวันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566
ภาควิชาภูมิศาสตร์ มศว  เปิดรับสมัครนิสิตปริญญาตรี TCAS รอบที่ 4 จำนวน 80 คน

ภาควิชาภูมิศาสตร์ มศว เปิดรับสมัครนิสิตปริญญาตรี TCAS รอบที่ 4 จำนวน 80 คน

ประกาศผลการเลือกตั้ง

ประกาศผลการเลือกตั้ง

ประกาศผลการเลือกตั้ง ประธานสโมสรนิสิตคณะสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2566