คาร์บอนเครดิต กลไกลดก๊าซเรือนกระจก

คาร์บอนเครดิต กลไกลดก๊าซเรือนกระจก

คาร์บอนเครดิต กลไกลดก๊าซเรือนกระจก

คาร์บอนเครดิต กลไกลดก๊าซเรือนกระจก

visibility 5,518

ที่มาภาพ : https://ukcop26.org

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ประเทศไทยและสมาพันธรัฐสวิสได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสเพื่อจุดประสงค์ในการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะสามารถถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตจากโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้าเป็นประเทศแรกของโลก แล้วความตกลงปารีส และการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตคืออะไร

ความตกลงปารีส (Paris Agreement)
ความตกลงปารีสเป็นความตกลงที่จัดทำขึ้นโดยภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีผลบังคับใช้ปี ค.ศ. 2016 เพื่อร่วมกันควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส เพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มการหมุนเวียนของเงินทุนสู่การพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ โดยข้อตกลงการดำเนินงานระหว่างไทย-สวิส ให้ความสำคัญไปที่การถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส ซึ่งผลการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกมีอีกชื่อว่าคาร์บอนเครดิตนั่นเอง

พิธีลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส
ที่มาภาพ : https://www.onep.go.th

คาร์บอนเครดิตคืออะไร?
คาร์บอนเครดิต คือ ผลการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (เช่น การใช้พลังงานชีวภาพ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า) หรือผลการกักเก็บปริมาณก๊าซเรือนกระจก (เช่น การปลูกต้นไม้) ที่ได้รับรองและบันทึกในระบบทะเบียนของหน่วยงานเจ้าของมาตรฐานการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะตกลงกันระหว่างประเทศที่จะทำการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต

ทำไมต้องถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต?
จุดประสงค์ในการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตมีทั้งจุดประสงค์ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ การถ่ายโอนภายในประเทศเกิดขึ้นเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก ส่วนการถ่ายโอนระหว่างประเทศนั้นเป็นการใช้คาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการที่ตั้งอยู่ในประเทศหนึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของอีกประเทศหนึ่งที่ทำข้อตกลงร่วมกัน

ถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตอย่างไร?
ในที่ประชุม COP26 ที่ผ่านมามีการรับรองรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบการดำเนินงานภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีสในการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตโดยสมัครใจระหว่างประเทศ โดยมีการกำหนดแนวปฏิบัติ (Guidance) สำหรับการดำเนินความร่วมมือที่มีการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (Internationally transferred mitigation outcomes หรือ ITMOs) จัดทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงาน มีขั้นตอนการให้อนุญาต (Authorization) การถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตโดยต้องมีระบบติดตามการถ่ายโอนดังกล่าว และหลีกเลี่ยงการนับผลการลดก๊าซเรือนกระจกซ้ำ (double counting)

ผลการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศอาจมีขั้นตอน และลักษณะกิจกรรมในการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกันตามความตกลงระหว่างประเทศนั้น ๆ เช่น การแบ่งคาร์บอนเครดิตในอัตราส่วนตามตกลง การใช้กลไกตลาดระหว่างประเทศในการทำสัญญาซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น

ที่มาภาพ : http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/page/PAG230

ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contribution หรือ NDC) ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมสาขาพลังงาน คมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม และการจัดการของเสียให้ได้ 20-25% ภายในปี ค.ศ. 2030

จัดทำบทความโดย นางสาววริษฐา จงวิสุทธิ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง

กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 รายสาขา”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://climate.onep.go.th

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). Paris Agreement ความตกลงปารีส (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ). กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “แนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://www.onep.go.th/carbon-credit

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “พิธีลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 จาก https://www.onep.go.th

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). “ความตกลงปารีส ข้อที่ 6 (Article 6)”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 จาก http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/page/PAG230

ขอเชิญ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำ CPR เพื่อการฟื้นคืนชีพ และการใช้เครื่อง AED”

ขอเชิญ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำ CPR เพื่อการฟื้นคืนชีพ และการใช้เครื่อง AED”

คู่มือการย้ายข้อมูลจาก Google Drive to OneDrive บน Cloud ด้วย Mover.io

คู่มือการย้ายข้อมูลจาก Google Drive to OneDrive บน Cloud ด้วย Mover.io

ขอเชิญ เข้าร่วมโครงการอบรมการเขียนใบสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอเชิญ เข้าร่วมโครงการอบรมการเขียนใบสมัครงานอย่างมีประสิทธิภาพ